for the LORD gives wisdom

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สมโภชนักบุญทั้งหลาย



วันอาทิตย์สมโภชนักบุญทั้งหลาย

บทความเทศน์
บาทหลวง สมเกียรติ ตรีนิกร



พี่น้องที่รัก ให้เราทุกคนชื่นชมยินดีในพระเจ้า ให้เราสมโภชนักบุญทั้งหลาย เหตุว่าวันนี้เป็นวันฉลองความหวังอันยิ่งใหญ่ของเรา เพราะว่าเรามีเป้าหมายสำคัญคือพระอาณาจักรสวรรค์ของพระบิดาเจ้าซึ่งเป็นบ้านแท้ของเราที่เราทุกคนใฝ่ฝัน การฉลองนักบุญทั้งหลายนี้เป็นดังเครื่องหมายแสดงความจริงแห่งความเชื่อที่สำคัญ คือ ชีวิตการจาริกบนโลกของเรานี้ไม่ใช่ที่สุด แต่ที่สุดคือเราจะต้องก้าวผ่านจากโลกนี้ ผ่านจากความตายไปสู่ชีวิตนิรันดร และที่สำคัญที่สุด เป็นการผ่านความตายโดยอาศัยความตายของพระเยซูเจ้า เพื่อจะกลับคืนชีพเช่นเดียวกับพระองค์
พี่น้องที่รัก ด้วยความหวังเช่นนี้ ให้เรารำพึงพระวาจาของพระเจ้าโดยผ่านทางจดหมายนักบุญยอห์นฉบับที่หนึ่งที่เราได้ยินวันนี้ว่า “พี่น้องที่รัก ในเวลานี้เราเป็นบุตรของพระเป็นเจ้าแล้ว แต่ภายหน้าเราจะเป็นอย่างไรนั้นยังมิได้ปรากฏแจ้ง เราทราบว่า เมื่อปรากฏแจ้งแล้ว เราก็จะเป็นเหมือนพระองค์ เพราะเราจะเห็นพระองค์ ดังที่พระองค์ทรงเป็นอยู่และทุกคนที่มีความหวังนี้ในพระองค์ย่อมทำตัวให้บริสุทธิ์ ดังที่พระองค์ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์” ที่สำคัญคือ เราจะดำเนินชีวิตบริสุทธิ์หรือดำเนินชีวิตในความหวังนี้ได้อย่างไรกัน พ่อคิดว่าเมื่อเรามีความปรารถนาจะได้รับชีวิตนิรันดรพร้อมกับพระองค์ เราต้องเจริญชีวิตตามพระประสงค์ของพระองค์ หรือพูดง่ายๆ คือ เราต้องเจริญชีวิตตามแบบอย่างและหนทางของพระองค์นั่นเอง
พี่น้องที่รัก พ่อได้เริ่มด้วยตัวบทจดหมายนักบุญยอห์นเพื่อประกาศความจริงว่า ชีวิตของเราคริสตชนนั้นมีความหวังในชีวิตภายหน้าตั้งแต่สมัยแรกเริ่มแล้ว เพราะจดหมายนักบุญยอห์นนี้เขียนในสมัยแรกๆ ของพระศาสนจักร และดูเหมือนกลุ่มคริสตชนนั้นมีความหวังแน่วแน่ในชีวิตนิรันดร แต่การจะได้มาซึ่งชีวิตนิรันดรนั้นย่อมเกี่ยวเนื่องกับการเจริญชีวิตในโลกนี้ และดูเหมือนจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องเจริญชีวิตในความเชื่อนั้นเอง
พี่น้องที่รัก พ่อเชื่อว่าเราต้องมีความหวังในชีวิตนิรันดรดังเช่นท่านนักบุญทั้งหลาย ซึ่งเราแต่ละคนล้วนมีนักบุญองค์อุปถัมภ์ด้วยกันทุกคน ทั้งนี้เพราะเราเชื่อว่าบรรดานักบุญเหล่านี้ที่ได้รับการรับรองจากพระศาสนจักรนั้นได้อยู่กับพระเจ้าในความสุขนิรันดร คำถามสำคัญคือทำไมพระศาสนจักรกล้ารับรอง อันที่จริงเราต้องยอมรับพระศาสนจักรมีอำนาจในการสอนความจริง แต่เราไม่ต้องพูดถึงเรื่องอำนาจหรอก เพราะที่สำคัญพระศาสนจักรใช้ความพยายาม เวลา และทุกสิ่งโดยเฉพาะการประกันด้วยอัศจรรย์ของบรรดานักบุญ ทั้งนี้เพื่อประกาศรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของพวกท่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เพราะชีวิตของพวกท่านนั้นเป็นประจักษ์พยานว่า ชีวิตของบรรดานักบุญนั้นเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตในความหวังนี้อย่างชัดเจนตั้งแต่เมื่อยังอยู่ในโลกนี้แล้ว
ดังนั้นพี่น้องที่รัก สิ่งที่เราพึงกล่าวถึงในวันนี้ในโอกาสสมโภชนักบุญทั้งหลายคือ เราจะเจริญชีวิตอย่างไรเพื่อจะได้รับชีวิตนิรันดร แน่นอนที่สุด เรามีชีวิตนิรันดรเป็นกรรมสิทธิ์อยู่แล้วอย่างแน่นอนเพราะพระคริสตเจ้าเสด็จมา เพื่อจะทรงมอบให้กับเราโดยการรับทรมาน สิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพ การเสด็จมาของพระองค์เป็นการทำให้ชีวิตของเรามีความหวัง และให้ชีวิตนิรันดรนี้กับเราโดยการที่เราเข้ามามีส่วนร่วมในรหัสธรรมปัสกาของพระองค์ คือการรับศีลล้างบาป เพราะในศีลล้างบาปเป็นประตูแห่งการรับพระหรรษทานทั้งหลาย ซึ่งก็คือคือพระหรรษทานแห่งความรอดพ้นนั้นเอง แต่ประเด็นต่อมาที่สำคัญคือ นอกจากศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เรามีแล้ว เราพึงเจริญชีวิตอย่างไรเล่า?
พี่น้องที่รัก พ่อขอตอบว่า เราต้องเจริญชีวิตติดตามรอยพระบาทของพระองค์ เจริญชีวิตตามพระวาจาและพระกิจการของพระองค์ กล่าวง่ายๆ คือ เราจะต้องดำเนินชีวิตโดย
• ทำสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงเคยกระทำเป็นการมอบพระแบบฉบับแห่งชีวิต และ
• ทำสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างจริงจัง
พี่น้องที่รัก พ่อคงต้องนำพี่น้องให้รื้อฟื้นสั้นว่า สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำคืออะไร? คำตอบคือ ทุกกิจการของพระองค์ที่เราพบในพระวรสาร ซึ่งแน่นอนเราได้พบกิจการมากมายเช่น ทรงรักคนยากจน ทรงสงสาร ทรงเมตตา ทรงให้อภัย ทรงรักษาคนทุพลภาพ ทรงสอนด้วยความรัก และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ทรงมอบชีวิตของพระองค์เพื่อเป็นค่าไถ่เราทุกคน
พี่น้องที่รัก สิ่งที่น่าจะต้องรำพึงเป็นพิเศษในวันนี้คือ อะไรคือสิ่งที่พระเยซูเจ้าสอนเพื่อเราดำเนินชีวิต? คำตอบที่สำคัญย่อมต้องมาจากสิ่งที่พระองค์ทรงสอนด้วยแบบอย่างชีวิตของพระองค์ และพระองค์ทรงสอนมากมายเช่นกัน แต่ว่าพ่อขอให้พี่น้องพิจารณาคำสอนแรกสุดที่สำคัญในพระวรสารนักบุญมัทธิวที่เราได้ฟังในวันนี้ ซึ่งพ่อถือว่านี่เป็นคำสอนแรกที่สำคัญอย่างมาก เพราะมัทธิวบันทึกอย่างระมัดระวังมีรายละเอียดดังนี้ คือ บนภูเขาอันสงบเงียบแต่เต็มด้วยผู้คนที่กำลังติดตามพระองค์ที่กาลิลี ท่ามกลางประชาชนมากมาย และบรรดาศิษย์เข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ทรงประทับนั่ง ทรงเผยพระโอษฐ์ ทรงสอน และคำสอนแรกสุดที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์คือ คำว่า “Makarioi” ภาษากรีกที่มัทธิวบันทึกในพระวรสารซึ่งแปลว่า “ความสุขแท้”
พี่น้องที่รัก นี่คือถ้อยคำแรกที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์ เมื่อทรงสอนพระโอวาทบนภูเขา ซึ่งแต่เดิมเราเรียกว่า “บุญลาภ” หรือ “หนทางแห่งความสุข” พ่อเชื่อว่านี่เป็นคำสอนแห่งหนทางที่สำคัญที่สุด ดังนั้นเพื่อเราจะเจริญชีวิตตามพระวาจาที่พระองค์ทรงสอน พ่อขอเสนอการตีความ การรำพึง เฉพาะหนทางแห่งความสุขแท้นี้เพียงข้อเดียวจากที่พระองค์ทรงสอนในพระวรสารนักบุญมัทธิวในวันนี้ ทั้งนี้พ่อเชื่อว่านี่เป็นคำสอนสำคัญที่สุดที่ทุกคนต้องติดตาม และต้องมีอยู่เป็นรากฐานลึก และรากฐานแท้ของหัวใจและชีวิต
พี่น้องที่รัก คำสอนแรกสุดนี้คือ “ผู้ใดมีใจยากจนก็เป็นสุขเพราะเมืองสวรรค์เป็นของเขา” ซึ่งพ่อจะขอแปลใหม่ให้ตรงคำภาษากรีกต้นฉบับคือ “ความสุขแท้ แก่ผู้มีใจยากจน เพราะพระอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” ที่พ่อต้องแปลใหม่เพราะว่าในต้นฉบับนั้นคำแรกที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระเยซูเจ้าคือ “Makarioi” แปลว่า “ความสุขแท้” ดังนั้นสิ่งที่พระองค์ทรงประกาศคือ “ความสุขแท้”
พี่น้องที่รัก ให้เรามุ่งหาความสุขแท้จริงโดยดำเนินชีวิตตามที่พระองค์สอนคือ “การมีใจยากจน” ซึ่งในพระวรสารนี้พ่อขออธิบายดังนี้ว่า คำว่า “ยากจน” ในที่นี้คือสภาวะของจิตใจ ซึ่งแน่นอน ในภาษากรีกต้นฉบับนั้นเราพบคำว่ายากจนนี้ใช้คำว่า “Ptochos” ซึ่งหมายถึง สภาวะที่ยากจนทางสภาพความเป็นอยู่อย่างถึงที่สุด ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีสภาวะต้องการความช่วยเหลือสนับสนุน จะไม่สามารถยังชีพอยู่ได้โดยขาดความช่วยเหลือ หรือการหยิบยื่นของคนอื่น ต้องอาศัยทานและการให้เท่านั้นจึงจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ ถ้าขาดความช่วยเหลือดังกล่าวเขาไม่สามารถยังชีพหรือมีชีวิตได้โดยลำพังตนเองเลย
พี่น้องที่รัก คำสอนของพระเยซูเจ้าประการแรกเพื่อความสุขแท้ พระองค์ทรงประกาศถึงสภาพทางจิตใจแบบ Ptochos หมายความว่า ความสุขแท้เป็นของคนที่มีสภาวะจิตใจเชื่อมั่นในพระเจ้าว่าพระองค์สำคัญที่สุด เป็นสภาวะที่ประกาศว่า เขาเป็นอยู่ได้ มีชีวิตได้ก็เพราะพระเจ้า เป็นสภาพจิตใจที่มีความเชื่อมั่นในพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ และเป็นการประกาศความเชื่ออันยิ่งใหญ่ว่า เขาขึ้นกับพระเจ้าและไม่สามารถขาดพระองค์ได้เลย การขาดพระเจ้า คือการขาดความสามารถที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ดังนั้นคนที่มีใจยากจนแบบนี้คือ คนที่มีความเชื่อมั่นในพระเจ้าผู้เดียวว่าทรงเป็นบ่อเกิดของชีวิต เขาผู้มีใจยากจนก็คือ ผู้ที่รู้และยอมรับภายในจิตใจว่าถ้าขาดพระเจ้าเขาไม่อาจมีชีวิต
พี่น้องที่รัก จึงสรุปได้ว่า คำสอนแรกสุดของพระเยซูเจ้าคือ “ความเชื่อ” ผู้มีใจยากจนดังกล่าวจะได้รับพระอาณาจักรสวรรค์ นั่นหมายถึงอำนาจปกครองของพระเจ้า จิตใจของเขานั้นยอมรับถึงการที่เขาขึ้นอยู่กับพระเจ้าโดยถาวร และพระเจ้าเป็นผู้ให้ชีวิต จิตใจของเขาผูกพันกับพระเจ้า และพระเจ้าทรงครอบครองจิตใจของเขานั้นเอง
พี่น้องที่รัก นี่คือหนทางดำเนินชีวิตที่พระเยซูเจ้าสอนเพื่อเราจะสามารถรับพระอาณาจักรสวรรค์ของพระองค์ คือ “เราต้องมีความเชื่ออย่างมั่นคง เด็ดเดี่ยว และยอมรับความจริงแบบผู้มีจิตใจที่มีรากลึกอย่างแท้จริงว่า พระเจ้าสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเรา” ซึ่งบรรดานักบุญทั้งหลายได้เจริญชีวิตเช่นนั้น และบรรดามรณสักขีทั้งหลายก็ยอมตายได้เพราะพวกท่านเชื่อว่าเสียชีวิตได้แต่ขาดความสัมพันธ์กับพระเจ้าไม่ได้เด็ดขาดนั้นเอง
พี่น้องที่รัก ในโอกาสที่เราฉลองนักบุญทั้งหลายของพระเจ้าให้เรารำพึงหนทางที่พระองค์ทรงสอน และบรรดานักบุญได้เจริญรอยตาม รวมทั้งพวกเราด้วยพึงเจริญชีวิตเพื่อพบความสุขแท้จริง ด้วยพลังแห่งความเชื่อของเรา พ่อจึงมีคำถามส่งท้ายดังนี้ว่า
• เรามีจิตใจ หมายถึง “สภาวะของจิตใจจริงที่อยู่ภายใน เป็นธรรมชาติของจิตใจแท้ๆ หรือธาตุแท้ของจิตใจของเรานั้น” มีความยากจนเพียงใด? หมายความว่า “เรามีความเชื่อเพียงใด” คือเชื่อว่า พระเจ้ามีความสำคัญสำหรับเราเป็นอันดับแรกเพื่อมีชีวิตหรือไม่?
• เราสามารถขาดพระองค์ได้หรือไม่ หมายความว่า เราแน่ใจว่า ชีวิตประจำวัน หน้าที่การงานที่เราทำอยู่นั้น จำเป็นที่จะต้องมีพระเจ้าประทับอยู่ด้วยเสมอ? หรือเรามีพระองค์เพียงเฉพาะบางเวลา หรือเฉพาะในภาวะจำเป็นของพระเจ้าเท่านั้น??
• เราแต่ละคนเป็น “บุคคลแห่งความเชื่อ” ต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์หรือเปล่า?
• เรามีความเชื่อในพระอาณาจักรสวรรค์เพียงใด?? สวรรค์ “พระอาณาจักรของพระเจ้า” คือการที่พระเจ้าทรงครอบครอง ประทับอยู่กับประชากรของพระองค์ และการดำเนินชีวิตของเราทำให้ผู้อื่นเชื่อในพระอาณาจักรสวรรค์เพียงใด??

นักบุญเยโนเวฟา องค์อุปถัมภ์ของกรุงปารีส

ประวัตินักบุญเยโนเวฟา
องค์อุปถัมภ์ของกรุงปารีส

ซิสเตอร์ซีมอนา สมศรี บุญอรุณรักษา
คณะคาร์แมลไลท์ ประเทศฝรั่งเศส
ผู้แปลและเรียบเรียง





นักบุญเยโนเวฟา เกิดประมาณ ค.ศ.423 ที่เมืองนองแตร์ (Nanterre) เมืองนี้อยู่ติดกับกรุงปารีส (Paris) และแซงต์แชร์แมน (Saint-Germain)
ท่านเกิดมาในครอบครัวคริสตัง บิดาของท่านชื่อ แซแวร์ (Se vere) มารดาชื่อ เยรองซ์ (Geronce) บิดามารดาของท่านได้อบรมสั่งสอน ความเชื่อ ความศรัทธาให้แก่ท่าน เมื่อหัดพูด คำแรกที่ท่านเปล่งออกมา ล้วนแต่เป็นคำทางศาสนาทั้งสิ้น เมื่อเริ่มหัดเดิน ท่านก็ได้ถูกพาไปยังวัดแห่งเมืองนองแตร์ ช่วงสมัยที่ท่านนักบุญได้ถือกำเนิดมานั้น เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสมีสิ่งชั่วช้ามากมาย ที่พวกคนต่างศาสนาได้เผยแผ่ ขณะนั้น พระศาสนจักรในประเทศอังกฤษ หรือสหราชอาณาจักร เริ่มสูญเสียความเชื่อ ทางสันตะสำนักโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเซเลสติน เห็นสมควรให้ส่งพระสังฆราช 2 องค์ จากประเทศโกล (ชื่อเดิมของฝรั่งเศส) ไปยังสหราชอาณาจักร เพื่อรักษาความเชื่อของบรรดาคริสตชน


พระสังฆราชทั้งสององค์นั้น คือท่านนักบุญลูป์ (St.Loup) และนักบุญแชร์แมน (St.Germain) ท่านทั้งสองได้ออกเดินทางไปยังสหราชอาณาจักร ในระหว่างการเดินทาง ท่านได้เดินทางผ่านเมืองนองแตร์ซึ่งเป็นทางผ่าน เมื่อท่านทั้งสองเดินทางผ่านมาถึงเมืองนองแตร์ ฝูงชนได้มาพบกับท่าน นักบุญเยโนเวฟาขณะนั้นมีอายุเพียง 7 ขวบ ก็ได้อยู่ร่วมในกลุ่มฝูงชนเหล่านั้น พร้อมบิดามารดาของท่าน ท่านนักบุญแชร์แมนผู้มีพระพรพิเศษ ได้ขอให้นำเด็กน้อยเยโนเวฟามาข้างหน้าท่าน จากนั้น ท่านได้กล่าวต่อหน้าฝูงชนที่ชุมนุมอยู่นั้นว่า พระเป็นเจ้าได้ทรงเลือกเยโนเวฟาให้เป็นเจ้าสาวของพระองค์ ท่านได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะที่เยโนเวฟาเกิด บรรดาทูตสวรรค์ต่างขับร้องด้วยความชื่นชมยินดี จากนั้น ท่านได้แสดงความยินดีกับบิดามารดาของเยโนเวฟาที่มีลูกสาวเช่นนี้ ท่านได้เสริมอีกว่า คุณงามความดีของเยโนเวฟา จะทำให้บรรดาคนบาปและผู้ที่ประพฤติตัวเหลวไหลกลับใจ
จากนั้น ท่านนักบุญพระสังฆราชแชร์แมน ได้กล่าวกับเยโนเวฟาว่า

“ลูกทีรัก จงกล้าหาญ จงเต็มไปด้วยพละกำลัง และพิสูจน์ให้เห็นจากสิ่งที่ใจของลูกได้เชื่อ และจากคำสัญญาที่ลูกได้เปล่งจากปาก”
จากนั้น ท่านนักบุญพระสังฆราชได้นำเยโนเวฟาไปยังวัด และได้รับคำปฏิญาณของเยโนเวฟา หลังจากนั้น พระสังฆราชทั้งสองก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังสหราชอาณาจักร เพื่อเทศน์สอนบรรดาคริสตชน



ส่วนเยโนเวฟาระลึกอยู่เสมอถึงคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้ต่อพระเป็นเจ้า เธอได้ยินเสียงของพระที่กล่าวกับเธอในใจ

“เป็นบุญของผู้ที่สาละวนในพระเป็นเจ้า และไม่ใส่ใจกับของของโลกนี้ เราคือสันติสุข ความชื่นชมยินดี และชีวิตของเจ้า จงดำเนินชีวิตอยู่ในเรา และเจ้าจะพบกับสันติสุข จงปล่อยวางจากทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา และแสวงหาเพียงแต่สิ่งที่เป็นนิรันดรภาพ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง จงละทิ้งทุกสิ่งที่เป็นของของโลกนี้ และสาละวนแต่ในพระผู้สร้าง และจงสัตย์ซื่อต่อพระองค์ เพื่อว่าจะได้บุญลาภที่แท้จริง”

พระสวามีเจ้ายังได้ตรัสกับท่านนักบุญอีกว่า

“เจ้าจะต้องตายต่อความเสน่หาตามประสามนุษย์ จนกระทั่งไม่มีความปรารถนาที่จะมีอะไรเลย เมื่อมนุษย์ห่างไกลจากความปลอบโยนของโลกมากเท่าไร เขาก็เข้าใกล้พระเป็นเจ้ามากเท่านั้น ถ้าเจ้ารู้จักปฏิเสธความรักทั้งครบต่อสิ่งสร้าง เราจะหลั่งพระพรมายังเจ้าอย่างเปี่ยมล้น ถ้าเจ้าสาละวนอยู่กับสิ่งสร้าง เจ้าจะสูญเสียพระผู้สร้าง”

เยโนเวฟารำพึงถึงพระวาจานี้ทั้งกลางวันและกลางคืน เธอมีความชื่นชมยินดีที่จะทำให้พระสัญญานี้เป็นจริง และได้ปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระองค์มานานหลายปีแล้ว โดยการฝึกปฏิบัติความดีแม้ในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน



วันหนึ่งเป็นวันฉลองใหญ่ เยรองซ์ มารดาของเยโนเวฟา ต้องการไปร่วมฉลองที่วัด และบังคับให้เยโนเวฟาอยู่เฝ้าบ้าน เยโนเวฟารู้สึกเสียใจอย่างมาก เพราะเธอปรารถนาที่จะไปฟังพระวาจาของพระเจ้า และร่วมบูชามิสซา เธอจึงได้ขอร้องต่อมารดาของเธอด้วยน้ำตานองหน้าที่จะไปที่วัด แต่มารดาของเธอหาได้ฟังไม่ เยโนเวฟาจึงบอกกับมารดาถึงคำมั่นสัญญาที่เธอได้ปฏิญาณไว้ว่าจะเป็นเจ้าสาวของพระคริสต์ และรับใช้พระองค์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนมารดาหาได้ฟังไม่ เธอโมโหเป็นการใหญ่ และได้ตบตีเยโนเวฟา และออกเดินทางไปวัด แต่ในระหว่างที่กำลังเดินทางอยู่ในทุ่งนา เยรองซ์ได้กลายเป็นคนตาบอด และเธอได้อยู่ในความมืดเช่นนี้นานถึง 2 ปี วันหนึ่ง นางระลึกถึงบทเทศน์ของนักบุญแชร์แมน นางจึงเรียกเยโนเวฟา และกล่าวกับเธอว่า

“ลูกที่รัก จงไปตักน้ำในบ่อน้ำข้างๆ บ้าน และจงทำสำคัญมหากางเขนที่น้ำนั้น และนำน้ำนั้นมาให้แม่ล้างตาเถิด แม่เชื่อว่าอาศัยน้ำนั้น แม่จะกลับมองเห็นอีกครั้งหนึ่ง”
เยโนเวฟาได้ทำตามนั้นทุกประการ และมารดาของเธอก็กลับมองเห็นอีกครั้งหนึ่ง



ต่อมา เมื่อเยโนเวฟามีอายุได้ 51 ปี ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะถวายตัวทั้งครบแด่พระเป็นเจ้านั้นมั่นคงอยู่เสมอ ดังนั้น เยโนเวฟาจึงไปพบกับพระคุณเจ้าจูลิคุส พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลชาร์ตร เพื่ออ้อนวอนขอให้รับข้อปฏิญาณของเธอ เธอได้เดินทางไปพร้อมกับหญิงสาวอีก 2 คน ซึ่งมีอายุแก่กว่าเธอ ทั้งสองก็มีความปรารถนาที่จะถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าเช่นเดียวกันกับเยโนเวฟา ด้วยความสุภาพของเธอ ในขณะที่เข้าขบวนแห่อยู่นั้น เยโนเวฟาได้เดินอยู่รั้งท้าย พระสังฆราชผู้ได้รับการดลใจจากแสงสว่างของพระเป็นเจ้า ได้กล่าวกับเธอว่า

“ขอให้ผู้ที่อยู่ข้างท้ายนั้น จงมาอยู่ข้างหน้า เพราะพระเป็นเจ้าได้ทรงฟังคำภาวนาแล้ว”
ด้วยเหตุฉะนี้เอง เยโนเวฟาจึงเป็นหญิงพรหมจารีคนแรกของประเทศฝรั่งเศสที่ได้กล่าวข้อปฏิญาณ เธอได้สัญญาที่จะถือความบริสุทธิ์ตลอดชีวิต และประเทศฝรั่งเศสถือว่าท่านเป็นนักบุญพรหมจารีองค์แรกของประเทศ



หลังจากที่ท่านได้ถวายตัวไม่นานนัก ท่านก็ได้สูญเสียบิดามารดา เธอเชื่อว่าการทดลองที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียผู้ให้กำเนิดนั้น เป็นเพราะพระเป็นเจ้าทรงต้องการให้เธอกลายเป็นเจ้าสาวที่คู่ควรของพระองค์ จากเหตุการณ์นี้เอง ทำให้เธอก้าวไปสู่หนทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น หลังจากที่สูญเสียบิดามารดาแล้ว เธอได้ย้ายออกจากเมืองนองแตร์ และไปอาศัยอยู่กับแม่ทูนหัวที่กรุงปารีส พระเป็นเจ้าได้ทรงทดลองเธอครั้งหนึ่ง โดยได้ทำให้เธอล้มป่วยลง ตลอดเวลา 3 วัน เธอมีอาการคล้ายคนที่ตายไปแล้ว ในช่วงเวลาเหล่านี้เอง จิตวิญญาณของเธอได้ถูกนำไปยังสรวงสวรรค์ นอกนั้น พระเป็นเจ้าทรงบันดาลให้เธอได้เห็นภาพของพระเยซูเจ้าที่เนินเขากัลวารีโอ เธอได้เข้าไปสัมผัสกับรหัสธรรมล้ำลึกของพระมหาทรมาน และการไถ่บาปของมนุษยชาติ หลังจากหายป่วยแล้ว เธอได้รำพึงเรื่องนี้อยู่เสมอ และหลั่งน้ำตาอยู่บ่อยครั้ง


ค.ศ.446 นักบุญแชร์แมนต้องเดินทางไปสหราชอาณาจักรอีกเป็นครั้งที่ 2 ท่านได้เดินทางผ่านกรุงปารีส และท่านได้ไปพำนักอยู่ที่สำนักพระสังฆราชแห่งกรุงปารีส ท่านได้พูดถึงเยโนเวฟา ถึงความกล้าหาญ อุทิศถวายตัวแด่พระเป็นเจ้าตั้งแต่อายุยังเยาว์วัย
ต่อมา พระเจ้าอัตติลา กษัตริย์ของพวกฮั่น (หัวหน้าเผ่าเอเชียที่บุกไปถึงยุโรป) ได้ยกทัพเข้ายึดกรุงปารีส เยโนเวฟาผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากพระจิตเจ้า ได้เรียกบรรดาสตรีทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส มารวมตัวกันสวดภาวนาในวัดน้อยของอาสนวิหาร วัดน้อยนี้เองได้ใช้สำหรับโปรดศีลล้างบาป พวกเธอได้ตื่นเฝ้า ภาวนาอ้อนวอนของพระผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ได้ทรงพระเมตตามายังนครปารีส
เยโนเวฟายังได้กล่าวแก่บรรดาบุรุษทั้งหลายที่ต้องการจะละทิ้งกรุงปารีส เนื่องจากความหวาดกลัวต่อกษัตริย์อัตติลา เธอได้ให้ความมั่นใจแก่พวกเขาว่า อัตติลาจะไม่สามารถทำอะไรกรุงปารีสได้ เพราะพระผู้เป็นเจ้าจะทรงยื่นพระหัตถ์ของพระองค์ออกคุ้มครองนครนี้ เพียงแต่ขออย่าได้สูญเสียความวางใจในพระองค์
บางคนได้ฟังและเห็นด้วยกับเยโนเวฟา แต่คนส่วนมากในพวกเขามีความเห็นตรงกันข้ามกับสิ่งที่เธอได้ขอร้อง พระเป็นเจ้าทรงฟังเสียงของข้ารับใช้ต่ำต้อยของพระองค์ ช่วงเวลานั้นเอง ผู้แทนสังฆราชแห่งออแซร์ ได้เดินทางมาที่กรุงปารีส เยโนเวฟาได้แจ้งเรื่องนี้แก่ท่าน เมื่อได้รับทราบเรื่องทั้งหมดแล้ว ผู้แทนสังฆราชได้กล่าวแก่คนทั้งหลายว่า
“ท่านกำลังทำอะไรกันอยู่เล่า ท่านต้องการที่จะทำลายผู้ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงเลือกสรรตั้งแต่ในครรภ์มารดาหรือ ถูกต้อง พระเป็นเจ้าได้ทรงเลือกเยโนเวฟาเป็นพิเศษ เราได้รับรู้เรื่องนี้จากท่านสังฆราชแชร์แมน”
หลังจากที่ได้รับการยืนยันจากผู้แทนสังฆราชแห่งออแซร์ ในนามของพระสังฆราชเอง บรรดาฝูงชนได้เปลี่ยนมาชื่นชมยินดีเยโนเวฟา ในขณะนั้น กษัตริย์อัตติลาผู้พร้อมที่จะทำลายนครปารีสให้ราบไป เกิดเปลี่ยนใจกะทันหันที่จะเดินทางไปยังที่อื่น สันติสุขจึงได้กลับคืนสู่กรุงปารีสอีกครั้งหนึ่ง



ต่อมาที่กรุงปารีสเกิดกันดารอาหาร และในสมัยนั้น กรุงปารีสยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพวกฝรั่งเศส เพราะในสมัยนั้น ฝรั่งเศสยังไม่ได้เป็นประเทศเดียวแบบทุกวันนี้ แต่ได้แบ่งออกเป็นแคว้นๆ ดินแดนทางตอนเหนือของกรุงปารีสไม่ได้ประสบปัญหาเรื่องความกันดาร แต่เป็นเรื่องยากที่จะเดินทางไปทางเหนือเพื่อแสวงหาอาหาร เนื่องจากในสมัยนั้น แม่น้ำแซนที่เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านกรุงปารีส ไม่ได้สงบเหมือนอย่างสมัยนี้ กระแสน้ำมักไหลเชี่ยว และเกิดอันตรายแก่ผู้ที่เดินทางอยู่เสมอ
วันหนึ่ง เยโนเวฟาได้ลงเรือ และได้ล่องไปตามลำน้ำพร้อมกับบรรดาผู้แจวเรือ เมื่อมาถึงบริเวณแห่งหนึ่งซึ่งเป็นบริเวณที่เรือที่ผ่านไปมามักจะจมลง และไม่มีเรือลำไหนสามารถผ่านเส้นทางนี้ไปได้ แต่เยโนเวฟากลับสั่งให้พวกคนแจวเรือเหล่านั้น ตัดต้นไม้ต้นหนึ่งที่อยู่ริมฝั่งในบริเวณนั้นเสีย และให้ถอนรากต้นไม้นั้นด้วย ขณะที่พวกได้ทำการนี้ เยโนเวฟาได้สวดภาวนา หลังจากที่พวกเขาได้ทำตามที่เธอได้บอกแล้ว กระแสน้ำในแม่น้ำแซนที่เคยเชี่ยวกราก กลับสงบลงอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ทำให้สามารถเดินทางต่อไปได้ เมื่อเดินทางมาถึงที่หมายแล้ว เธอได้ขอบริจาคเสบียงอาหารจากชาวบ้านที่เมืองโอบ เพื่อจะนำไปช่วยชีวิตชาวปารีส เธอรวบรวมอาหารที่ได้รับบริจาคถึง 11 ลำเรือ จากนั้นเธอจึงเดินทางกลับกรุงปารีส แต่เมื่อเดินทางมาได้ครึ่งทาง ได้เกิดมีพายุใหญ่น่ากลัวยิ่งนัก ทุกคนต่างตกใจกลัว มีแต่เยโนเวฟาผู้เดียวเท่านั้นที่ไม่ได้หวั่นวิตกอะไร แต่ตรงกันข้าม ท่านได้อธิษฐานภาวนาต่อพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเคยปราบลมพายุให้สงบมาแล้ว เมื่อครั้งที่พระองค์ยังคงเจริญพระชนม์อยู่บนโลกนี้ คำภาวนาของเธอได้บังเกิดผลอย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ลมพายุต่างสงบลงอย่างราบคาบ เธอและผู้ติดตามจึงเดินทางต่อไปถึงปารีส เธอได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวเมือง เธอไม่รอช้าที่จะรีบแจกจ่ายอาหารแก่ผู้ที่หิวโหย เธอได้แจกข้าวสาลีแก่พวกเขา และบ่อยทีเดียวที่เธอได้ลงมือทำขนมปังสำหรับบรรดาผู้ที่น่าสงสารเหล่านั้นด้วยตัวเธอเอง นับเป็นครั้งที่ 2 ที่เธอได้กอบกู้ชาวเมืองปารีสให้รอดพ้นจากภยันตราย



บรรดาสตรีใจศรัทธาและแม่ม่ายทั้งหลาย ต่างอ้อนวอนเธอให้ดูแลพวกเขาเช่นมารดา เพื่อตอบสนองบรรดาสตรีเหล่านี้ เธอจึงตัดสินใจตั้งอารามแห่งหนึ่งขึ้น อารามแห่งนี้มีชื่อ อารามของพวกภคินีออดรีเอท ตามชื่อของนักบุญออด ซึ่งเป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงที่สุดของอารามแห่งนี้

ต่อมา เยโนเวฟามีใจเลื่อมใสต่อท่านนักบุญเดอนิส มรณสักขีแห่งกรุงปารีส ค.ศ.272 ซึ่งเป็นสมัยที่พระศาสนาคาทอลิกเพิ่งเข้ามาเผยแผ่ในประเทศฝรั่งเศส เยโนเวฟาปรารถนาจะสร้างวัดหลังหนึ่งเพื่อเป็นเกียรติให้นักบุญเดอนิส ในสถานที่ที่เป็นที่เก็บพระธาตุของท่านนักบุญเดอนิส แต่เธอเองไม่มีทรัพย์สินใด ๆ เลยที่จะทำการนี้ เธอไปพบบรรดาพระสงฆ์ เธอได้กล่าวกับบรรดาบพระสงฆ์เหล่านั้นว่า

“คุณพ่อที่เคารพ ขอให้คุณพ่อองค์หนึ่งไปที่สะพานในเมือง และให้นำสิ่งที่ได้ยินที่นั่น มาบอกแก่ข้าพเจ้า”
พระสงฆ์เหล่านั้นเชื่อว่าเยโนเวฟาเป็นดังประกาศกของพระเป็นเจ้า คุณพ่อองค์หนึ่งได้ไปที่สะพานในเมืองตามที่เธอได้บอกไว้ เมื่อไปถึงที่นั่น ก็ได้พบกับคนเลี้ยงโค 2 คน กำลังสนทนากัน คนแรกกล่าวกับคนที่สองว่า

“เมื่อเช้านี้ ข้าฯ ได้ไปตามหาวัวตัวหนึ่งของข้าฯ ข้าฯ ได้พบแหล่งที่เต็มไปด้วยปูนสำหรับก่อสร้าง มันมากมายจริง และก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี่นัก”

คนเลี้ยงวัวคนที่สองกล่าวตอบว่า

“ส่วนตัวข้าฯ ข้าฯ เองก็ได้ไปพบใกล้ๆ ที่นี่เอง ตรงทางเข้าป่า ข้าฯ ได้พบปูนดังที่เจ้ากล่าว ใต้รากต้นไม้ต้นที่เพิ่งล้มลง”

พวกพระสงฆ์เหล่านั้นต่างขอบพระคุณพระเป็นเจ้าในสิ่งที่ได้ยินชายสองคนสนทนากัน และรีบนำเรื่องนี้กลับไปเล่าให้เยโนเวฟาฟังทันที เยโนเวฟาไม่รอช้า เธอได้รวบรวมชาวบ้านเพื่อลงมือสร้างวัดดังกล่าว นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระเป็นเจ้าได้ทรงทำอัศจรรย์แก่ประชากรของพระองค์ผ่านทางเยโนเวฟา

นอกจากนั้นยังมีอัศจรรย์อื่นอีก เช่น ในระหว่างก่อสร้าง วันหนึ่ง อากาศเกิดร้อนอย่างประหลาด บรรดาคนงานก่อสร้างต่างหมดแรง และเหล้าองุ่นที่จะช่วยชูกำลังของพวกเขาก็ไม่เหลือเลย เมื่อเยโนเวฟาทราบเรื่องนี้ เธอไม่รอช้า คุกเข่าลงสวดภาวนาอ้อนวอนขอพระเป็นเจ้าได้ทรงโปรดช่วยเหลือพวกเขา เมื่อเธอรู้สึกว่าคำภาวนาของเธอบังเกิดผล เธอจึงลุกขึ้น นำไหใบหนึ่งที่ไม่มีเหล้าเหลือติดอยู่เลย เธอได้ทำเครื่องหมายสำคัญมหากางเขนเหนือไหนั้น ทันใดนั้นเอง ไหกลับเต็มไปด้วยเหล้าองุ่น และตลอดเวลาการก่อสร้าง ได้มีอัศจรรย์เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งการก่อสร้างได้สำเร็จลง

ตลอดเวลาในชีวิตของเยโนเวฟา เธอมักจะสวดภาวนาอยู่เสมอๆ บ่อยครั้งเธอได้ตื่นเฝ้าตลอดคืนวันเสาร์จนถึงรุ่งเช้าวันอาทิตย์ ตามแบบอย่างของบรรดาคริสตชนรุ่นแรกๆ เธอได้เป็นแบบอย่างแก่บรรดาสตรีที่ได้อุทิศถวายตัวถือพรหมจรรย์ ที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในอารามที่เธอได้ตั้งขึ้น ด้วยชีวิตแห่งการสวดภาวนาอยู่เสมอ
นอกนั้นเธอยังได้ทำอัศจรรย์มากมาย รักษาคนเจ็บป่วยให้หาย เธอได้สวดภาวนาเป็นพิเศษเพื่อให้กษัตริย์โคลวิสกลับใจ คำภาวนาของเธอและของพระราชินีนักบุญโกลทิลดา และพระสังฆราชนักบุญเรมี ซึ่งได้มีพระประสงค์เดียวกันนั้นก็ได้บังเกิดผล ที่สุด ค.ศ.498 กษัตริย์โคลวิสได้กลับใจ และได้รับศีลล้างบาปจากท่านนักบุญเรมี พระสังฆราชแห่งแรงม์ เรายังได้ทราบอีกว่า หลังจากที่ท่านนักบุญแชร์แมนได้มรณภาพแล้ว เยโนเวฟาได้ติดต่อกับพระสังฆราชเรมี โดยปรึกษากับพระสังฆราชทางด้านชีวิตจิต เธอได้ไปที่แรงม์เพื่อพบกับพระสังฆราชบ่อยๆ เธอยังเป็นพระสหายคนหนึ่งของกษัตริย์โคลวิส และพระราชินีโกลทิลดาอีกด้วย เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่พระราชวงศ์กลับกลายเป็นสหายกับหญิงสามัญชนเช่นเยโนเวฟา แต่สำหรับเราคริสตัง เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ เพราะเราต่างเป็นลูกของพระ

ต่อมาไม่นาน เยโนเวฟาเกิดความคิดที่จะอยากจะสร้างวัดหลังหนึ่ง เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านนักบุญเปโตรและเปาโล ท่านได้ปรึกษากับพระราชินีโกลทิลดา สมเด็จพระราชินีเห็นด้วยกับเยโนเวฟา พระนางได้กราบทูลขอเรื่องนี้ต่อกษัตริย์โคลวิสพระสวามี พระองค์ได้ทรงประทานพระบรมราชานุญาตให้ก่อสร้างวัดดังกล่าว แต่เสียดายว่าพระองค์ได้เสด็จสวรรคตก่อนที่พระวิหารของพระเป็นเจ้าหลังนี้จะแล้วเสร็จ

เยโนเวฟาได้ทำอัศจรรย์อีกหลายอย่างเพื่อชาวปารีส ในเวลาที่เธอได้เจริญชีวิตอยู่บนโลกนี้
สิ่งหนึ่งที่เราพบในชีวิตของเธอก็คือ ชีวิตแห่งการภาวนา และการช่วยเหลือพี่น้องที่ตกทุกข์ได้ยาก
เธอยึดถึงพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่กล่าวว่า

“จงตื่นเฝ้าและภาวนาอยู่เสมอ เพื่อจะได้ไม่ตกอยู่ในการประจญ”

ตั้งแต่อายุ 15 ปี ทีเธอถือข้อปฏิญาณจนถึงอายุ 50 ปี เธอรับประทานเพียงขนมปังและถั่วเท่านั้น เธอจำศีลอดอาหาร 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เธอไม่เคยดื่มเครื่องดื่มที่ทำจากแอลกอฮอล์เลย แต่เมื่อเธอมีอายุได้ 50 ปี พระสังฆราชได้สั่งให้เธอรับประทานปลาและดื่มนม



ประวัติศาสตร์ไม่ได้เล่าเกี่ยวกับช่วงสุดท้ายในชีวิตของเยโนเวฟาเลย เราพบเพียงแค่ประโยคนี้เท่านั้นที่กล่าวถึงเยโนเวฟา

“หลังจากที่เธอได้เจริญชีวิตอยู่บนโลกนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นแดนเนรเทศ เธอได้ฝึกปฏิบัติคุณธรรมต่างๆ อย่างดี เมื่อเธอมีอายุได้ 80 กว่าปี เธอได้สิ้นใจอย่างสงบในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ.512”

หลังจากที่เธอได้มรณภาพแล้ว ชาวปารีสนำร่างของเธอไปฝังไว้ในวัดนักบุญเปโตรและเปาโล ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพกษัตริย์โคลวิส แต่ร่างของเธอได้ถูกเคลื่อนย้ายหลายครั้ง ปัจจุบันร่างของเธอได้พักผ่อนอย่างสงบในวัดนักบุญสเตฟาโน หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า นักบุญเอเตียน

ค.ศ.1997 สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้เสด็จไปร่วมงานเยาวชนสากลโลกที่กรุงปารีส และได้ถือโอกาสนี้ไปเยี่ยมและสวดภาวนาที่หลุมฝังศพของท่านนักบุญเยโนเวฟา องค์อุปถัมภ์ของกรุงปารีสด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภราดายอห์น บอสโก แห่งพระเมตตา






















ประวัติ พอสังเขป

ภราดายอห์น บอสโก แห่งพระเมตตา
ภารดาคณะคาร์เมไลท์


ภราดายอห์น บอสโก ปรีชา ยั่งยืน
เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
สัตบุรุษวัดแม่พระเป็นที่พึ่ง ท่าหว้า กาญจนบุรี

หลังจากเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และ ครูคำสอน โรงเรียนวีรศิลป์ ท่าม่วง กาญจนบุรี ในสังฆมณฑลราชบุรี เป็นเวลา๑๒ ปี
ตัดสินใจเข้าอารามของคณะที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๑

สำเร็จการศึกษาวิชาปรัชญา ประเทศสิงคโปร์ และกำลังศึกษาเทววิทยา ปีสุดท้ายที่วิทยาลัยเทเรซีอานุม ซึ่งเป็นวิทยาลัยของคณะที่กรุงโรม





ได้ปฎิญาณตนตลอดชีพร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ อีก ๑๑ คน จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยคุณพ่ออัคราธิการของคณะฯ
และบรรดาพระสงฆ์อีกประมาณ ๑๔๐ องค์ ณ วิทยาลัยเทเรซีอานุม เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวามคม ๒๐๐๗ ซึ่งตรงกับวันฉลองนักบุญยอนห์น แห่งไม้กางเขน




“ขอขอบพระคุณพระเป็นเจ้าสำหรับพระคุณพระพรต่าง ๆ ที่พระองค์ประทานให้ผมตลอดมา
และขอขอบคุณทุกท่านสำหรับคำภาวนาที่มีให้กับผมตลอดมาเช่นกัน
ขอคำภาวนาให้ผมต่อ ๆ ไป
เพื่อว่าผมจะได้เป็นนักบวชคาร์เมไลท์ที่มีความสุภาพ ซื่อสัตย์ ศักดิ์สิทธิ์
และสามารถทำตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าตลอดชีวิตของผม”

คณะภราดาคาร์เมไลท์




ประวัติ คณะภราดาคาร์เมไลท์ พอสังเขป

คณะภราดาคาร์เมไลท์
ถือกำเนิดมาเมื่อประมาณ ๘๐๐ กว่าปีมาแล้ว
คือประมาณปลายศตวรรษที่ ๑๒ ในช่วงสงครามครูเสด
โดยบรรดานักพรตซึ่งอาศัยอยู่บนภูเขาคาร์แมล ในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ประเทศอิสราแอล

ภูเขาคาร์แมลนี้ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
เพื่อระลึกถึงประกาศกเอลียาห์ ผู้เป็นต้นแบบหรือบิดาแห่งบรรดานักพรตทั้งหลาย
ซึ่งรวมถึงภราดาคาร์เมไลท์ด้วย
บรรดานักพรตเหล่านี้ได้อุทิศถวายตนทั้งครบแด่พระนางมารีอา
จนถือได้ว่าเป็นนักบวชคณะแรกที่อุทิศถวายแด่พระนางมารีอา

คณะได้รับพระวินัยจากนักบุญอัลเบิร์ต พระอัยกา แห่งเยรูซาเล็ม
ประมาณปี ค.ศ.๑๒๐๙ ต่อมาบรรดานักพรตเหล่านี้ได้ถูกบังคับให้อพยพไปอยู่ในทวีปยุโรป
ในปี ค.ศ.๑๔๕๒
บรรดานักพรตหญิงได้เริ่มก่อตั้งขึ้น โดยบุญราศียอห์น โซเร็ธ
ผู้เป็นคุณพ่ออัคราธิการในสมัยนั้น

ในศตวรรษที่ ๑๖ ได้เกิดโรคระบาด การขาดแคลนกระแสเรียก และได้เกิดการปฏิรูปขึ้นภายในพระศาสนจักร ซึ่งรวมถึงคณะคาร์เมไลท์ด้วย

พระเป็นเจ้าทรงส่งนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ ๒ องค์ คือนักบุญเทเรซา แห่งอาวิลลา และนักบุญยอห์น แห่งไม้กางเขน มาเป็นผู้ปฏิรูปคณะฯ

ในปี ค.ศ. ๑๕๖๒ โดยเริ่มปฏิรูปนักพรตหญิง และ ในปีค.ศ. ๑๕๖๘ นักพรตชาย ในประเทศสเปน

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาความสนิทสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้า
โดยอาศัยการรำพึงภาวนา
และมีความเร่าร้อนที่จะทำงานรับใช้พระเป็นเจ้า
เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันในพระศาสนจักร

คณะภราดาคาร์เมไลท์
ได้แพร่กระจายไปในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชีย และอเมริกาใต้

ปี ค.ศ. ๑๙๒๕ คณะนักพรตหญิงคาร์แมล (ชีลับ) ได้เริ่มเข้ามาทำงานในประเทศไทย

ปัจจุบันมีทั้งหมด ๔ อาราม คือ

อารามคาร์แมล กรุงเทพฯ
อารามคาร์แมล จันทบุรี
อารามคาร์แมล สามพราน
และอารามคาร์แมล นครสวรรค์

สำหรับ อาราม ภราดาคาร์เมไลท์ ในประเทศไทย ยังไม่มี

ขณะนี้มีสมาชิกทั้งหมด ๔ คน
กำลังศึกษาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ๒ คน และกำลังศึกษาอยู่ที่กรุงโรม ๒ คน


หากสนใจต้องการทราบข้อมูลต่าง ๆ
หรือต้องการไปสัมผัสชีวิตกับทางคณะภราดาคาร์เมไลท์

กรุณาติดต่อ
อธิการิณีคณะคาร์เมไลท์ ทั้ง ๔ อาราม

หรือ

www.ocd.pcn.net/ocd/f3_singapo.htm

Vocation Coordinator

จงยึดมั่นพระองค์เป็นดั่งคู่ชีวิตและเพื่อนแท้ของท่าน
จงเดินไปพร้อมกับพระองค์ทุกวันเวลา แล้วท่านก็จะไม่กระทำบาป
ท่านจะได้เรียนรู้ถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อท่าน
พระองค์จะทรงช่วยให้ทุกสิ่งที่ท่านจะต้องการะทำ บังเกิดผลสมบูรณ์สำหรับตัวท่าน

นักบุญยอห์น แห่งไม้กางเขน
นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

มีใครบ้างที่จะกล้าบอกว่าตนเองเหมาะสม...กับชีวิตนักบวช
ขอเพียงคุณกล้าที่จะตัดสินใจเท่านั้น


เขียนจดหมายแนะนำตัวท่านถึงเรา...

Vocation Coordinator

Church of Saints Peter & Paul
225 A Queen Street
Singapore 188551

sts.peternpaul@pacific.net.sg

Tel:6337 2585
Fax: 6334 5414

Carmelite Friars Formation House
203 J, ponggol seventeenth Avenue
Singapore 829729

carmelitefriars_sg@hotmail.com

Tel: 6387 0530
Fax: 6387 0697

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Eleven Martyrs of Novogrodek




The Sisters of the Holy Family of Nazareth arrived in Novogrodek in 1929 at the behest of Bishop Zygmunt Lozinski. The Sisters became an integral part of the life of the town. During the Nazi and Soviet occupation of Poland, the Sisters invested great effort in preparing for the religious services - for the residents of the town, liturgical prayer became a beacon of hope amid the hopelessness of the occupation.

The Nazi terror in Novogrodek began with the 1942 extermination of the Jews, and was followed by a surge in Polish arrests, then the slaughter of 60 people, including two priests. This situation was repeated on 18 July 1943, when more than 120 people were arrested and slated for execution.

The Sisters unanimously expressed their desire to offer their lives in sacrifice for the imprisoned. Sister Maria Stella shared the Sisters' decision with their chaplain Father Zienkiewicz and rector, saying, "My God, if sacrifice of life is needed, accept it from us and spare those who have families. We are even praying for this intention." Almost immediately, the plans for the prisoners were changed - they were deported to work camps in Germany, and some of them were even released. When the life of Father Zienkiewicz was threatened, the Sisters renewed their offer, saying, "There is a greater need for a priest on this earth than for us. We pray that God will take us in his place, if sacrifice of life is needed."

Martyrdom
Without warning or provocation, on 31 July 1943, eleven of the sisters were imprisoned, loaded into a van and driven beyond the town limits. The eleven nuns were killed on 1 August 1943 in the woods 3 miles beyond Novogrodek, and buried in a common grave. After the execution, Sister M. Malgorzata Banas, the community's sole surviving member, located the place of the martyrdom, and remained the guardian of their common grave until her own death in 1966. The Church of the Transfiguration, known as Biala Fara, or "White Church", now contains the relics of the eleven martyrs.

Martyrs
The eleven martyrs are listed below, along with their birth names and years of birth.

1. Sister M. Stella, Superior (Adela Mardosewicz), born 1888
2. Sister M. Imelda (Jadwiga Karolina Żak), b. 1892
3. Sister M. Rajmunda (Anna Kokołowicz), b. 1892
4. Sister M. Daniela (Eleonora Aniela Jóźwik), b. 1895
5. Sister M. Kanuta (Józefa Chrobot), b. 1896
6. Sister M. Gwidona (Helena Cierpka), b. 1900
7. Sister M. Sergia (Julia Rapiej), b. 1900
8. Sister M. Kanizja (Eugenia Mackiewicz), b. 1904
9. Sister M. Felicyta (Paulina Borowik), b. 1905
10. Sister M. Heliodora (Leokadia Matuszewska), b. 1906
11. Sister M. Boromea (Weronika Narmontowicz), b. 1916

Beatification
On 18 September 1991, the canonization process for the eleven nuns was officially opened and, on 28 June 1999, the Zenit News Agency announced that Pope John Paul II had confirmed that they were martyrs. Pope John Paul II beatified them with a group of thirty-three others on Sunday, 5 March 2000. Feast day - 1st August

Colck

Thailand time

ฉลองอารามคาร์แมล กรุงเทพฯ









๑ ตุลาคม ๒๐๐๙

ฉลองอารามคาร์แมล กรุงเทพฯ
















วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สมโภชพระนางพรหมจารีมารีย์ แห่งภูเขาคาร์แมล




๑๖ กรกฏาคม
สมโภชพระนางพรหมจารีมารีย์ แห่งภูเขาคาร์แมล

ภูเขาคาร์แมลเป็นภูเขาที่มีความสวยงามมาก ตามที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ ณ ภูเขานี้ ประกาศกเอลียาห์ได้ทำหน้าที่ป้องกันความเชื่อของชาวอิสราเอล เชื่อในพระเจ้าผู้ทรงชีวิต ในตอนปลาย ศตวรรษที่ ๑๒ ได้มีนักพรตกลุ่มหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ที่ใกล้ธารน้ำ ซึ่งมีชื่อตามนามของท่านประกาศกเอลียาห์ บนภูเขาคาร์แมล พวกเขาเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่านักพรตชายคณะพระนางมารีย์ พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล ได้สร้างวัดถวายเป็นเกียรติแด่พระนางมาย์พรหมจารีซึ่งพวกเขาได้เลือกเป็นองค์อุปถ้มภ์ เป็นมารดา และเหนือสิ่งอื่นใด พระนางเป็นแบบอย่างสำหรับพวกเขา ในการเจริญชีวิตเพ่งพิศภาวนา การเฉลิมฉลองเพื่อรำลึกถึงพระนางพรหมจารี แห่งภูเขาคาร์แมลได้เริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ และต่อมาได้แพร่หลายไปในคณะคาร์แมลทั่วโลก

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

youtobe บทภาวนาเวลาเช้า แสงธรรม


Morning prayer: Psalm 5 บทภาวนาเวลาเช้า: สดุดี ๕

http://www.youtube.com/watch?v=GxboI5GonTE








Carmelite Saint Therese of Lisieux : ขอพระองค์จูงข้าฯ ไป

http://www.youtube.com/watch?v=qCyPJo3CT2Y





Ave Maria Sentimental Inspiring O Dear Mother

http://www.youtube.com/watch?v=CK9DyxB7U-M











Saint Therese of Lisieux The Little Flower

http://www.youtube.com/watch?v=eTG5FKTxoAI



ธรรมชาติ













เพราะเธอคือเพื่อน
พระเจ้าทรงปกป้องท่านไว้ในอ้อมพระหัตถ์ของพระองค์
พระองค์ทรงมีแผนการบางอย่าง...สำหรับชีวิตของท่าน
บ้างเล็ก...บ้างใหญ่...บ้างงดงาม...มหัศจรรย์
แสงสว่างสุกสกาวของพระองค์...ทรงนำทางท่าน
เฝ้ามองดูท่านใน...ยามเช้า..กลางวัน...และค่ำคืน
พระองค์ทรงรอคอยอยู่ที่นั่น...เพื่อท่าน
เพื่อ...นำทางท่านในยามทุกข์ยาก
เพื่อ...สอนบทเรียนของพระองค์แก่ท่าน
และช่วยท่านให้เติบโตขึ้น
พระองค์ทรงซื่อสัตย์...ต่อท่านเสมอ
ไม่มีอะไรที่พระองค์จะทรงทำเพื่อท่าน...ไม่ได้
พระองค์จะทรงโอบอุ้มท่านไว้...ยามเมื่อท่านสะดุดล้มลง
พระองค์ต้องการที่สอนให้ท่านรู้จักไตร่ตรอง...นอบน้อม...เชื่อฟัง
พระองค์ทรงรักท่านเสมอ และหวังว่า...
ท่านจะตอบรับพระองค์เช่นกัน
พระองค์ทรงมอบบ่าของพระองค์...เพื่อให้ท่านได้พักพิง
มอบความสงบ...สันติ...และความปลอบประโลมใจ
แก่ดวงใจที่ซอกซ้ำ...ของท่าน
พระองค์ทรงรอคอย...ท่านเสมอ
เพื่อ...ต้องรับท่าน
เพราะท่านคือ...เพื่อนของพระองค์
บทความจาก :
นิตยสารครอบครัวซาเลเซียน
ปีที่ 51 ตุลาคม 2009
ภาพจาก : Mary Grace